สารจากประธานกรรมการ

ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศที่เผชิญกับความท้าทายจากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแอและการฟื้นตัวในประเทศ ในปี 2566 กลุ่มบริษัทบางจากก้าวสู่แถวหน้าของธุรกิจพลังงานชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลกด้วยการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจจากความสำเร็จในการขยายธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานการเข้าถึงพลังงาน และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม นับเป็นการเสริมขีดความสามารถและศักยภาพในการสร้างมูลค่าในระยะยาวของธุรกิจ

สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่

ในปี 2566 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยในการประชุม COP 28 มีประเด็นสำคัญในด้านต่างๆ เช่น การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ การเร่งเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากพลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานสีเขียว วาระข้อตกลงการลดมีเทน และการเร่งลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นสัญญาณให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

ภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") เป็นบริษัทพลังงานไทยที่ดำเนินงานเคียงคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยดำเนินกิจการหลักด้วยการประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตั้งแต่การจัดหาน้ำมันดิบทั้งจากแหล่งต่างประเทศและภายในประเทศ เข้ากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน

ในปี 2566 มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 294,000 บาร์เรลต่อวัน ประกอบด้วยกำลังผลิตติดตั้งของโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง 120,000 บาร์เรลต่อวัน กำลังผลิตติตตั้งของโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา 174,000 บาร์เรลต่อวัน และจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันบางจากกว่า 2,219 แห่งทั่วประเทศ และสถานีบริการเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อหุ้น บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) จำนวน 830 สถานี อีกทั้งยังมีการขยายกิจการสู่ธุรกิจการค้าน้ำมัน ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาดธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนธุรกิจใหม่ ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมายสูงสุดที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศ ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจใหม่เพื่อสร้างความต่อเนื่องและความยั่งยืนแก่กิจการ

กำลังการผลิตติดตั้ง
บาร์เรลต่อวัน (โรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง)
ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ ผ่านสถานีบริการ
แห่ง
(จำนวนสถานีบริการบางจากและสถานีเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ บมจ. บางจาก ศรีราชา)
พื้นที่ปฏิบัติการ
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ธุรกิจตลาด ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและธุรกิจใหม่ กระจายอยู่ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน นอร์เวย์ และสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลสำคัญทางการเงินปี 2566

รายได้จากการขายและการให้บริการ
ล้านบาท
สินทรัพย์รวม
ล้านบาท
EBITDA
ล้านบาท

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (SDGs) รวมถึงพิจารณาเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนองค์กรทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งครอบคลุมประเด็นความยั่งยืนในมิติการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม และมิติสังคม เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบทางธุรกิจ และค้นหาโอกาสในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานและการดำเนินธุรกิจให้ครอบคลุมประเด็นด้านความยั่งยืนอย่างรอบด้านสอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในระดับสากล ทำให้บริษัทฯ สามารถดำเนินงานเชิงรุกและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสถาณการณ์โลกและประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่อย่างมีภูมิคุ้มกัน​

คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาลร่วมกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร กำกับดูแล ทบทวนแนวปฏิบัติและมอบนโยบายด้านความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล​

บริษัทฯ ดำเนินงานด้านความยั่งยืน คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาลร่วมกับบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กรกำกับดูแลทบทวนแนวปฏิบัติและมอบหมายนโยบายด้านความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล คณะทำงานนโยบายความยั่งยืนองค์กร (Sustainability Policy Committee: SPC) ซึ่งมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน และมีผู้บริหารของกลุ่มธุรกิจและกลุ่มงานเป็นกรรมการ ​

คณะทำงานนโยบายความยั่งยืนองค์กรกำหนดเป้าหมาย ทิศทางนโยบาย และกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และกลุ่มบริษัทบางจาก เพื่อพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ โดยพิจารณาจากเป้าหมาย SDGs ประเด็นสำคัญจากการประเมินความยั่งยืนองค์กร และความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อไป

นโยบายและเป้าหมายจากคณะทำงานนโยบายความยั่งยืนองค์กรจะดำเนินการผ่านสายงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับมิติด้านความยั่งยืน โดยมีคณะทำงานบริหารจัดการด้านความยั่งยืนองค์กร (Sustainability Management Committee: SMC) ทำหน้าที่ประสานงานกลางที่จะติดตาม รวบรวม ประเมินผลพร้อมรายงานความก้าวหน้าและผลดำเนินงานต่อคณะกรรมการนโยบายความยั่งยืนองค์กรอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี ซึ่งคณะทำงานนโยบายความยั่งยืนองค์กรจะรายงานการดำเนินงานด้านความยั่งยืนไปยังคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร และคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล 2 ครั้งต่อปี ตามลำดับ​

คณะทำงานบริหารจัดการด้านความยั่งยืนองค์กร จะประกอบไปด้วยผู้บริหารของกลุ่มบริษัทบางจาก ซึ่งในปี 2566 มุ่งเน้นการจัดทำกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กรอบการดำเนินงาน BCP316NET เพื่อให้กลุ่มบริษัทบางจาก สามารถมุ่งสู่เป้าหมายการเป็น Net Zero GHG Emissions การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2593​

สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566

การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)
รายได้จากการขายและการให้บริการ
ล้านบาท
กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี
ล้านบาท
เงินปันผลต่อหุ้น
ล้านบาท
EBITDA
ล้านบาท

EBITDA จำแนกตามกลุ่มธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน
ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจการตลาด
ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด
ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ และธุรกิจใหม่
ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจบางจาก ศรีราชา
ล้านบาท

บรรษัทภิบาล (Corporate Governance)

ได้รับคะแนนระดับดีเลิศ (Excellence) ในโครงการสำรวจการกำกับดูแล กิจการบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report: CGR)

คู่ค้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ CAC แล้ว
บริษัท
ผู้บริหารและพนักงานตอบรับนโยบาย และทดสอบความรู้การต่อต้านทุจริต
ร้อยละ
100
นโยบายงดรับของขวัญ
ต่อเนื่องปีที่
การแจ้งข้อมูลความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ออนไลน์
ร้อยละ
100

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การจัดซื้อจัดจ้างภายในท้องถิ่น (ประเทศไทย)
ล้านบาท
*การจัดซื้อสินค้าและบริการกลุ่ม Non-Hydrocarbon

ร้อยละของค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ จากการจัดหาเชิงกลยุทธ์ ของงบประมาณปี 2566

คู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ โดยตรงและคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทฯ โดยตรงที่เข้าร่วมการประเมิน ความเสี่ยงด้าน ESG

Your Greenovative Destination

จำนวนสถานีบริการน้ำมันบางจาก
แห่ง
ความพึงพอใจของลูกค้า
คะแนน
4.16
สถานีบริการน้ำมันมาตรฐาน
แห่ง
สถานีบริการน้ำมันชุมชน
แห่ง
ร้านกาแฟ
สาขา
สถานีบริการเครือข่าย
แห่ง
ภายใต้การบริหารของ บมจ. บางจาก ศรีราชา
ควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อม (In Harmony with the Environment)
การใช้พลังงานสุทธิขององค์กร
เทระจูล
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมขอบเขตที่ 1 และ 2
(ตามขอบเขตการปันส่วนตามกรรมสิทธิ์)
ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน
ร้อยละ
99.4
กลุ่มธุรกิจการตลาด
ร้อยละ
0.6

การรับน้ำจากแหล่งต่างๆ

รวม
ล้าน ลบ.ม.

(* น้ำจากกระบวนการผลิต น้ำบาดาลและน้ำประปาที่ใช้ในโรงกลั่นฯ)

ปริมาณน้ำใช้ซ้ำ / น้ำรีไซเคิลของโรงกลั่นฯ
ล้าน ลบ.ม.
น้ำทิ้งของโรงกลั่นฯ
ล้าน ลบ.ม.
ของเสียที่ถูกจัดการด้วยหลัก 3 Rs
ร้อยละ
ของปริมาณของเสียทั้งหมด

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีอย่างมีนัยสำคัญ
(มากกว่า 100 บาร์เรล/ครั้ง)
0 ครั้ง
จำนวนอุบัติเหตุจากการขนส่งผลิตภัณฑ์
(ความเสียหายต่อรถเกิน 1 ล้านบาท)
0 ครั้ง

ดาวน์โหลดรายงาน

แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี / รายงานประจำปี 2566 (แบบ 56-1 One Report)
รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2566